สำหรับผู้เดินทางเยือนญี่ปุ่น

มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเดินทางมาญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากขึ้นในฐานะนักเรียนหรือคนทำงาน ในหน้านี้ คุณจะพบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพในญี่ปุ่น

คำแนะนำก่อนเดินทาง

ผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังและการรักษา

ผู้มีโรคประจำตัว/ผู้ที่ต้องรับประทานยา
ก่อนเดินทาง ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับโรคและการรักษาในปัจจุบันเป็นฉบับภาษาอังกฤษเอาไว้สำหรับยามฉุกเฉิน
สำหรับผู้ที่ต้องพกยาเสพติดทางการแพทย์หรือยารักษาโรคจิตเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา มีกฎที่กำหนดให้ปฏิบัติตาม ยาเสพติดให้โทษทางการแพทย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสวัสดิการท้องถิ่นล่วงหน้า ขั้นตอนสำหรับยารักษาโรคจิตแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณยาทั้งหมดที่คุณต้องพกติดตัว เป็นไปไม่ได้ที่จะนำเข้า (ส่งออก) ยา หรือแม้แต่ส่งทางไปรษณีย์และให้คนรู้จักดำเนินการให้คุณ โปรดทราบว่าญี่ปุ่นมีการลงโทษที่เข้มงวดมากสำหรับการนำเข้ายาเสพติดทางการแพทย์จำนวนเล็กน้อย และคุณควรแน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงผลทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการจำคุกหรือการเนรเทศ สำหรับการนำยาเสพติดทางการแพทย์จำนวนเล็กน้อยติดตัวไปด้วย โปรดทราบว่ายาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์บางชนิดมีจำหน่ายในบางประเทศ (เช่น panadeine) อาจผิดกฎหมายในญี่ปุ่น

เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกัน

ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จำเป็นให้เรียบร้อยล่วงหน้า
และพกประวัติการฉีดวัคซีนของคุณไปด้วย
ในประเทศญี่ปุ่น มีการระบาดของโรคหัดและโรคหัดเยอรมันอยู่ขณะนี้
กรุณาตรวจสอบก่อนเดินทางว่าคุณได้ฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว
ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ได้พบเห็นการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ A ในกลุ่มรักร่วมเพศชาย นอกจากนี้ยังพบการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ B เป็นระยะๆ
หากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ A และไวรัสตับอักเสบ B มาด้วย
*สำหรับ COVID-19 กรุณาตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์ด้านล่าง
 https://www.japan.travel/en/coronavirus/

การลงทะเบียนระบบประกันสุขภาพ

หากไม่ได้สมัครระบบประกันสุขภาพเอาไว้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คนไข้ต้องแบกรับจะเป็นจำนวนที่สูงมาก
ควรสมัครประกันสุขภาพของเอกชนหรือประกันเดินทางเอาไว้ล่วงหน้า
และควรตรวจสอบรายละเอียดการจ่ายเงินชดเชยของประกันที่ทำสัญญาไว้ด้วย
บุคคลที่ขึ้นทะเบียนชาวต่างชาติและได้รับอนุญาตให้พำนักในญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 เดือนหรือมากกว่า รวมทั้งครอบครัวของบุคคลนั้น มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่น
ชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทเข้าข่ายผู้มีสิทธิ์รับประกันสุขภาพอยู่แล้วโดยผ่านทางบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าประกันสุขภาพเองเป็นการส่วนตัว
ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่นไม่ครอบคลุมให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางมาเพื่อรักษาโรคที่ญี่ปุ่น

วีซ่าการแพทย์

สำหรับผู้ที่เดินทางมาประเทศญี่ปุ่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับการรักษาสามารถขอวีซ่าการแพทย์ได้ 
 https://www.mofa.go.jp/j_info/visit/visa/medical_stay1.html

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่น

การเข้าถึงสถานพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นสามารถทำได้ง่าย
ทว่าเนื่องจากไม่มีระบบแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practitioner - GP) คุณต้องตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะตรวจรักษาที่แผนกใดก่อน
นอกจากนี้ โดยมากแล้วหากไม่มีจดหมายแนะนำจากสถานพยาบาลจะไม่สามารถพบแพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ได้
หากมีอาการเกี่ยวกับอวัยวะเฉพาะจุด เช่น ตา หู จมูก หรือฟัน ควรไปพบแพทย์ที่คลินิกซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ
ในกรณีที่ไม่ทราบว่าควรจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนกใด กรุณาพบแพทย์ที่คลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกกุมารเวช

หากต้องการรถดับเพลิง, รถพยาบาล, หน่วยกู้ภัย กรุณาโทรเบอร์ 119
ถ้าสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุหรือคดีความ กรุณาติดต่อเบอร์ 110
คุณสามารถใช้โทรศัพท์สาธารณะโทรหาสถานีดับเพลิงหรือสถานีตำรวจโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ
 https://tabunka.tokyo-tsunagari.or.jp/guide_eng/index.html

โรงพยาบาลหลายแห่งรับตรวจคนไข้ที่เพิ่งมาใช้บริการครั้งแรกแม้ไม่ได้นัดหมายมาก่อน แต่ยังมีบางแห่งที่ไม่รับตรวจหากไม่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนไปพบแพทย์
ควรพกบัตรประกันสุขภาพ หรือเอกสารอื่นๆ ที่ยืนยันว่าคุณอยู่ในระบบประกันสุขภาพไปด้วยเสมอ
โรงพยาบาลต่างๆ จะขอตรวจสอบสถานะการประกันสุขภาพของคุณเดือนละครั้ง จึงควรพกบัตรประกันสุขภาพเมื่อไปพบแพทย์
โรงพยาบาลอาจขอให้ชาวต่างชาติแสดงพาสปอร์ตและเอกสารยืนยันคุณสมบัติพำนักในประเทศญี่ปุ่น (Residence Card) ด้วย

การหาโรงพยาบาล

ที่ญี่ปุ่นมีสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนตั้งอยู่ทั่วประเทศ
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาสถานพยาบาลเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไป
มีเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายสำหรับการค้นหาโรงพยาบาล แต่ควรระมัดระวังในการเลือกใช้ บางเว็บไซต์ลงความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่อาจมีอคติและผิดไปจากความเป็นจริง
นอกจากนี้ ข้อมูลที่ลงในเว็บค้นหาอาจเป็นข้อมูลเก่าแล้ว กรุณาตรวจสอบข้อมูลล่าสุดของสถาบันการแพทย์ที่เกี่ยวข้องก่อนไปรับการตรวจ

มีระบบให้บริการข้อมูลหน้าที่การทำงานด้านการแพทย์ (เน็ตเวิร์คข้อมูลการแพทย์) สำหรับให้ข้อมูลสถาบันการแพทย์ในแต่ละจังหวัดแก่ประชาชน ตามที่กำหนดในกฎหมายการแพทย์
ทำให้สามารถค้นหาสถาบันการแพทย์แยกแต่ละจังหวัดทั่วประเทศได้
 https://www.mhlw.go.jp/stf/seisakunitsuite/bunya/kenkou_iryou/iryou/teikyouseido/index.html

ญี่ปุ่นกำลังพัฒนาระบบที่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ารับบริการสุขภาพของประเทศได้อย่างปลอดภัย
ในจำนวนนั้นมี "ระบบรับรองสถานพยาบาลที่รับรักษาคนไข้ชาวต่างชาติ (Japan Medical Service Accreditation for International Patients - JMIP)"เพื่อรับรองถสานพยาบาลที่สามารถให้บริการโดยคำนึงถึงภูมิหลังและวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น บริการแนะนำการตรวจรักษาในหลายภาษา หรือ บริการที่รองรับคนไข้ที่นับถือศาสนาที่แตกต่างกันไป เป็นต้น
สามารถค้นหาสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับ JMIP ได้จากเว็บไซต์ด้านล่าง
 http://jmip.jme.or.jp/index.php?l=eng

นอกจากนี้ มีองค์กรและธุรกิจอื่น ๆ ที่ให้การรับรองแบบเดียวกันนี้
・รายชื่อสถาบันการแพทย์ที่รับรักษาชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศญี่ปุ่น โดยองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan National Tourism Organization - JNTO)
 https://www.jnto.go.jp/emergency/eng/mi_guide.html
・ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ญี่ปุ่น(MEJ)
 https://medicalexcellencejapan.org/en/

กรณีที่ผู้ปกครองประสบปัญหาไม่สามารถดูแลอาการของบุตรได้ในช่วงวันหยุดและเวลากลางคืน สามารถติดต่อขอปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ #8000
 https://www.mhlw.go.jp/topics/2006/10/tp1010-3.html
แต่อาจมีข้อจำกัดทางด้านภาษา

การหาล่ามด้านการแพทย์

การหาแพทย์ที่พูดภาษาอังกฤษได้ หรือสถานพยาบาลที่กระตือรือร้นรับรักษาชาวต่างชาติในเมืองใหญ่ไม่ใช่เรื่องยากนัก
แต่หากคุณอยู่ในพื้นที่ชนบทอาจเป็นเรื่องยาก
นอกจากนี้คลีนิกเล็กๆ ที่ยังไม่ให้บริการรองรับหลายภาษายังมีอีกมาก

เวลาค้นหาสถานพยาบาล ขอแนะนำให้ตรวจสอบว่ามีบริการล่ามแปลภาษาด้วยหรือไม่
ที่ญี่ปุ่นขณะนี้มีคนไข้ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น จึงได้สร้างระบบที่คนไข้ชาวต่างชาติสามารถพบแพทย์ได้อย่างสบายใจ ตามที่กล่าวถึงในหัวข้อ [การหาโรงพยาบาล]
มีหลายระบบที่รับรองว่าบริการสำหรับคนไข้ชาวต่างชาติได้มาตรฐานระดับหนึ่ง และโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองส่วนใหญ่สามารถให้บริการได้หลายภาษา

นอกจากนี้แต่ละจังหวัดได้ดำเนินการสนับสนุนล่ามด้านการแพทย์สำหรับคนไข้ที่พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งกันเอง
โปรดตรวจสอบทางเว็บไซต์ว่าหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ของคุณมีบริการสนับสนุนเช่นนี้หรือไม่

โรงพยาบาลระมัดระวังเอาใจใส่ต่อการดูแลจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเสมอ และพยายามเต็มความสามารถที่จะถ่ายทอดเจตนาของผู้ให้การรักษาออกไปอย่างไม่ผิดพลาด เพื่อให้ได้รับความยินยอมอย่างถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายการรักษา
หากคุณมีบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้มาช่วยเป็นล่าม เท่ากับว่าเคุณต้องเปิดเผยอาการป่วยของตนเองให้บุคคลนั้นรับรู้ด้วย
และล่ามอาจแปลไม่ถูกต้องทั้งหมดเสมอไป ขึ้นอยู่กับความเข้าใจภาษาญี่ปุ่นของบุคคลนั้นด้วย
โปรดคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ เวลาที่คุณขอความช่วยเหลือด้วย

เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล

ควรสมัครประกันสุขภาพของเอกชนหรือประกันเดินทางเอาไว้ล่วงหน้า ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อ "การเตรียมตัวก่อนเดินทาง"
อย่าลืมตรวจสอบเนื้อหาของสัญญา
และควรตรวจสอบรายละเอียดการจ่ายเงินชดเชยของประกันที่ทำสัญญาไว้ด้วย
ประกันของเอกชนที่สมัครได้หลังจากมาถึงญี่ปุ่นก็มีเช่นกัน
บุคคลที่ขึ้นทะเบียนชาวต่างชาติและได้รับอนุญาตให้พำนักในญี่ปุ่น 3 เดือนหรือมากกว่า รวมทั้งครอบครัวของบุคคลนั้น มีหน้าที่ที่ต้องเข้าร่วมระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่น
ชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทเข้าข่ายผู้มีสิทธิ์รับประกันสุขภาพอยู่แล้วโดยผ่านทางบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าประกันสุขภาพเองเป็นการส่วนตัว
หากมีจุดประสงค์เพื่อท่องเที่ยวหรือรักษาอาการป่วยที่ญี่ปุ่น จะไม่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายของประกันสุขภาพ

กรณีที่สมัครเข้าประกันสุขภาพแห่งชาติ จะจ่ายเฉพาะ 30% ของค่ารักษาพยาบาล
หากไม่ได้สมัครระบบประกันสุขภาพเอาไว้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คนไข้ต้องแบกรับจะเป็นจำนวนที่สูงมาก

ประกันสุขภาพจะครอบคลุมค่ารักษาส่วนใหญ่ที่จำเป็นในด้านการแพทย์
แต่ประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมการพบแพทย์นอกเวลาในตอนที่ไม่ใช่เวลาฉุกเฉินในเชิงการแพทย์, ค่าออกใบรับรองแพทย์, ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และคลอดบุตร, การตรวจรักษาฟัน, การตรวจสุขภาพ, การตรวจโรค และอื่นๆ
กรุณาสอบถามสถาบันการแพทย์ล่วงหน้า
สถาบันการแพทย์ที่ไม่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตยังมีอยู่มาก ควรพกเงินสดจำนวนหนึ่งไปด้วยเมื่อพบแพทย์จะเป็นการดี
ถ้าสมัครประกันสุขภาพของเอกชน ควรเก็บใบเสร็จรับเงินเอาไว้เพื่อทำเรื่องเรียกเงินชดเชยด้วย

ขั้นตอนในการรับบริการทางการแพทย์

กระบวนการทั่วไปในการรับบริการที่โรงพยาบาล มีดังนี้

  1. 0. สอบถามก่อนไปพบแพทย์

    ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อยืนยันวันเวลาที่จะไปตรวจและพบแพทย์ครั้งแรก สอบถามรายละเอียดการนัดหมาย และการใช้จดหมายแนะนำ
    หากต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต อย่าลืมสอบถามว่ารองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือไม่

  2. 1. ลงทะเบียน

    เมื่อถึงโรงพยาบาล ให้ไปยังจุดลงทะเบียนและแจ้งว่าเป็นการมาตรวจครั้งแรก
    แสดงบัตรประกันสุขภาพ และถ้ามีจดหมายแนะนำก็แสดงด้วย
    หากคุณเป็นชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่อาจจะขอให้แสดงพาสปอร์ตหรือเอกสารยืนยันตัวตนอื่น ๆ
    หากไม่ใช่ผู้พำนักอาศัยในญี่ปุ่น คุณอาจจะต้องจ่ายค่ามัดจำล่วงหน้า

  3. 2. กรอกประวัติการรักษาพยาบาล

    เจ้าหน้าที่จะให้คุณกรอกประวัติการรักษาพยาบาล
    นอกจากอาการในปัจจุบันแล้ว โปรดแจ้งประวัติและอาการแพ้ต่างๆ ที่เคยเป็น
    อาจมีการขอวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนเข้าพบแพทย์

  4. 3. การตรวจรักษาและปรึกษาแพทย์

    หากคุณไปพบแพทย์โดยไม่ได้ทำการนัดหมายล่วงหน้า คุณจะได้ตรวจตามคิวที่ได้รับเมื่อไปถึง โดยคิวอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามอาการและความเร่งด่วนในการรักษาของคนไข้
    ถ้ามีคนมาพบแพทย์จำนวนมาก อาจจะรอนานขึ้นไปด้วย
    คุณอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่ม ตามคำวินิจฉัยของแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่อาจจะพาไปตรวจเลย หรืออาจนัดหมายให้มาตรวจในวันอื่น
    บางครั้งอาจมีการแนะนำให้มาตรวจหาโรคในวันอื่น

    Depending on doctors diagnosis, you might need additional tests, if so, you will be directed or they might ask you to comeback ona different day.

  5. 4. ชำระเงิน

    หลังจากพบแพทย์และตรวจรักษาเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่แคชเชียร์เพื่อชำระค่าบริการ
    ค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาจะถูกคำนวณตามระบบค่าธรรมเนียมทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานของญี่ปุ่น
    หากเป็นการตรวจอาการที่ประกันไม่ครอบคลุม คุณจะถูกเรียกเก็บเงินเป็นจำนวนตามที่โรงพยาบาลกำหนดเอง

  6. 5. การจ่ายยา

    หากคุณได้รับการสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ คุณสามารถไปรับยาได้จากแผนกยาของโรงพยาบาล หรือร้านขายยานอกโรงพยาบาล ("chōzai yakkyoku")
    เมื่อไปถึงร้านขายยาตามใบสั่งแพทย์ ให้แสดงใบสั่งยาและบัตรประกันเพื่อให้ทางร้านช่วยจัดยาให้
    ร้านขายยาตามใบสั่งแพทย์มีอยู่หลายแห่งใกล้กับโรงพยาบาล คุณจึงไม่ต้องเป็นกังวลในการหาร้าน
    ร้านขายยาทั่วไปบางแห่ง อาจมีเภสัชกรที่สามารถจัดยาตามใบสั่งแพทย์ได้ แต่ไม่แพร่หลายนัก
    ใบสั่งยามักจะมีอายุเพียงแค่ 4 วันหลังออกให้
    เมื่อได้รับใบสั่งยาแล้วควรไปรับยาที่ร้านขายยาตามใบสั่งแพทย์โดยเร็วที่สุด

    ร้านขายยาจะออกสมุดบันทึกประวัติการใช้ยา ("kusuri techō") ให้ ทำให้เราสามารถบันทึกประวัติการรับยาจากโรงพยาบาลต่างๆ ไว้ในสมุดเล่มเดียวได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานยา ควรสอบถามเภสัชกร

  7. 6. ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น

    หากแพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องส่งผู้ป่วยต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น จะมีการออกจดหมายแนะนำให้

TopPage